วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตับแข็ง เป็นได้ตั้งแต่เด็ก


เคยกล่าวถึงผลเสียของความอ้วนทำให้การรับรสชาติของเด็กอ้วนเสื่อมประสิทธิภาพลงไป และวันนี้ยังมีผลร้ายของความอ้วนในเด็กมาเตือนกันอีก โดย รศ.พญ.วรนุช จงศรีสวัสดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ เล่าไว้ในวารสารสุขภาพของโรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า โรคไขมันพอกตับและตับแข็ง ถือเป็นภัยเงียบของเด็กอ้วน!

ปัจจุบัน เด็กอ้วนมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รศ.พญ.วรนุช เชื่อว่ามีสาเหตุจากวัฒนธรรมการกินที่เปลี่ยนไป เน้นอาหารจานด่วน รวมทั้งเด็กออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือวิ่งเล่นน้อยลง แต่หันไปเล่นคอมพิวเตอร์หรือดูทีวีนานขึ้น อีกทั้งผู้ปกครองมักมองว่า บุตรหลานที่อ้วนฉุเป็นเด็กน่ารัก แต่ความจริงแล้วความอ้วนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว

โดยเฉพาะเด็กอ้วนที่มีรอยคล้ำดำบริเวณคอ ข้อพับ รักแร้ และบริเวณที่เนื้อเสียดสีกันคล้ายขี้ไคลแต่ขัดล้างไม่ออก ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เด็กคนนั้นมีโอกาสป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และหยุดหายใจขณะหลับ ที่น่าวิตกคือ ในอดีตโรคเหล่านี้มักพบในผู้ใหญ่วัยกลางคน และผู้สูงอายุ ทว่าปัจจุบันกลับพบเพิ่มในเด็กอ้วน

สำหรับโรคที่พบบ่อยในเด็กอ้วน คือ โรคไขมันพอกตับ รศ.พญ.วรนุช ยังบอกด้วยว่า โรคนี้มักถูกมองข้าม และผู้ปกครองก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่า เด็กก็มีสิทธิ์ป่วยได้ ที่สำคัญ หากป่วยเรื้อรังมีโอกาสทำให้ตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็ง เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซี หรือผู้ใหญ่ที่ดื่มเหล้ามากๆ

อย่างไรก็ตาม รศ.พญ.วรนุช เผยว่า ในต่างประเทศมีการศึกษาพบเด็กวัยรุ่นที่อ้วนมีโรคไขมันพอกตับสูงกว่าวัยรุ่นที่ไม่อ้วนถึง 15-20 เท่า และพบเด็กอ้วนเป็นตับแข็งตั้งแต่อายุ 8 ขวบ

เด็กอ้วนที่มีไขมันพอกตับ หรือมีตับอักเสบร่วมด้วยมักไม่มีอาการหรืออาจมีอาการไม่จำเพาะ เช่น อ่อนเพลีย ปวดท้อง ดังนั้นเด็กอ้วนควรรับการตรวจเพิ่มเติมว่าป่วยโรคดังกล่าวหรือไม่ ส่วนวิธีตรวจ รศ.พญ.วรนุช บอกว่า มีทั้งการตรวจอัลตร้าซาวนด์ตับ ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ และการเจาะตรวจเนื้อตับ ในขณะที่การรักษา ดีที่สุดคือการลดน้ำหนัก กินอาหารที่เหมาะสม และออกกำลังกาย ส่วนการใช้ยารักษาไขมันพอกตับในเด็ก ทางการแพทย์ยังถือว่ามีข้อจำกัดและยังต้องรอดูผลในระยะยาว

เคล็ดลับการป้องกันไขมันพอกตับในเด็กอ้วน รศ.พญ.วรนุช แนะผู้ปกครองต้องให้บุตรหลานกินอาหารให้ครบทุกมื้อ แต่มื้อเย็นให้กินแต่น้อยโดยลดข้าวและแป้งลง นอกจากนี้ควรงดอาหารรสหวาน ของทอด ของมัน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ขนมถุง จำกัดชั่วโมงการดูทีวีและเล่นคอมพิวเตอร์ รวมกันไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ควรให้เด็กอ้วนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30-60 นาที ถ้าจะให้ดีผู้ปกครองควรปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้ให้เด็กๆ ดูเป็นตัวอย่างด้วย.



รศ.พญ.วรนุช จงศรีสวัสดิ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลเวชธานี

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การกินยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารสำคัญอย่างไร

การที่จะทราบว่าการกินยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารสำคัญอย่างไรนั้นเราต้องทราบก่อนว่าขั้นตอนที่ยาจะไปออกฤทธิ์นั้นเป็นอย่างไร เวลาเรากินยาเข้าไป ถ้าเป็นยาเม็ดหรือแคปซูล ยานั้นจะแตกออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน แล้วละลายในน้ำ ซึ่งอยู่ในกระเพาะและทางเดินอาหาร หลังจากนั้นก็จะถูกดูดซึมเข้าผนังทางเดินอาหาร เข้าสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป แต่ถ้าเป็นยาน้ำขบวนการนี้ก็จะเร็วขึ้น

ยาจะออกฤทธิ์เมื่อได้เข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้ว และต้องมีปริมาณสูงพอด้วย อาหารบางอย่างมีผลต่อการดูดซึมของยา ยาบางตัวก็มีผลต่อกระเพาะอาหาร เช่น ทำให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้น การกินยาก่อนหรือหลังอาหาร จึงมีความสำคัญขึ้นกับว่าต้องการผลการของยาในแง่ใด ปกติเมื่อกระเพาะมีอาหารอยู่เต็ม ยาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้น้อยกว่า และใช้เวลามากกว่าเมื่อกระเพาะว่าง

จากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรากินยาก่อนอาหารทันที, หลังอาหารทันที หรือกินยาพร้อมอาหาร จะมีความหมายแทบจะไม่แตกต่างกัน ซึ่งถือว่ากินยาในห้วงเวลาที่กระเพาะอาหารไม่ว่างเหมือนกัน ดังนั้นเราจะกำหนดเวลาไปด้วยว่ากินก่อนอาหารหรือหลังอาหารนานเท่าใด จึงจะได้ผลตามที่ต้องการ

จะขอแบ่งวิธีการกินยา ประกอบเหตุผล พอเป็นสังเขปดังนี้ กินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง
เพราะเราต้องการให้ได้รับยาขณะที่ท้องว่าง เพื่อให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด ยาพวกที่ต้องกินแบบนี้ได้แก่ เพนนิซิลลิน, แอมพิซิลิน, ไรแฟมพิซิล เป็นต้น บางทีเราก็ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ก่อนอาหารตกถึงกระเพาะ (จะกินก่อนอาหารนานเท่าใดขึ้นกับเวลาตั้งแต่เริ่มกินจนถึงเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ซึ่งยาแต่ละตัวจะแตกต่างกันบ้าง) เช่น ยาที่ลดการเกร็ง หรือบีบตัวของกระเพาะและทางเดินอาหารคนที่เป็นโรคกระเพาะนั้นมักจะปวดท้อง เมื่ออาหารตกไปถึงกระเพาะ เพราะอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะลำไส้บีบตัวมากขึ้น จึงต้องให้ยาออกฤทธิ์ ลดการบีบตัวของกระเพาะลำไส้ โดยกินยาก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์พอดีเวลาอาหาร ซึ่งจะบรรเทาอาการปวดท้องได้ ยังมียาที่กระตุ้นให้เกิดการอยากอาหาร ก็ต้องกินก่อนอาหารประมาณ 1/2 ชั่วโมง พอยาออกฤทธิ์ จะกินอาหารได้มากขึ้น

กินหลังอาหารทันที = กินก่อนอาหารทันที = กินพร้อมอาหาร

ยาบางตัวหากกินตอนท้องว่างจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารมาก ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แต่ถ้ากินพร้อมอาหารจะช่วยลดการระคายเคืองได้ ยาพวกนี้ได้แก่ ยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ เช่น แอสไพริน, ยาแก้ปวดข้อ เช่น เพนนิลบิวทาโซน, ไอบูโปรเฟน, อินโดเมดทาซิน เป็นต้น นอกจากกินพร้อมอาหารแล้วยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น แอสไพริน การกินน้ำตามมาก ๆ เพื่อไปเจือจาง หรือลดความเป็นกรดให้น้อยลง ก็ช่วยลดการระคายเคืองได้
กินยาหลังอาหาร 1 ชั่วโมง

ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์นาน เมื่อกินหลังอาหาร เช่น ยาลดกรดซึ่งมีผู้ทดลองได้ผลว่า ถ้าให้ยาในขณะที่ท้องว่าง ยาจะออกฤทธิ์นานประมาณ 30 นาที แต่ถ้าให้ยาหลังอาหาร 1 ชั่วโมง ยาจะออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง ดังนั้นจึงกำหนดให้กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง

ไหน ๆ ก็พูดถึงยาก่อนอาหาร, หลังอาหาร, พร้อมอาหารมาแล้ว ขอพูดถึงยากินก่อนนอนสักเล็กน้อย ยาบางชนิดกินแล้วทำให้ง่วงมึนงง เช่น ยาคลายกังวล, ยาแก้แพ้ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาแก้หวัด ลดน้ำมูก จึงควรกินก่อนนอน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ปลอดภัยในขณะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือขับรถในเวลากลางวันแล้ว ยังทำให้หลับได้อย่างสบายในเวลากลางคืนอีกด้วย

จึงขอสรุปได้ว่า จะกินยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการให้ยานั้น ๆ ออกฤทธิ์ให้ได้ผลมากที่สุด มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ส่วนจะก่อน - หลังนานเท่าใดนั้น ขึ้นกับเวลาตั้งแต่เริ่มกินยาจนถึงเวลาที่ยาถูกดูดซึมเข้าผนังทางเดินอาหารหมด หรืออาจเลยไปถึงเวลาที่ยาออกฤทธิ์แล้วแต่ว่าเราต้องการผลอันไหน

คงจะเห็นแล้วว่า เวลากินยาก่อนหรือหลังอาหารมีความสำคัญเพียงใด ดังนั้นเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรกินยาตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ผลดีก็จะตกอยู่กับตัวของผู้ป่วยเอง 

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย เคยได้ยินหรือเปล่า ?

ท่านเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อไปทั้งตัว กดโดนตรงไหนก็เจ็บ ไม่มีแรง ปวดบริเวณต้นคอ สะบักหลัง รู้สึกตึงไปหมด เหนื่อยง่าย เป็นทุก ๆ วัน เป็นหลายเดือนหรือ ถึงเป็นปี อาการที่กล่าวมาแล้วฟังดูเหมือนเป็นอาการสามัญที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อย กลุ่มอาการที่กล่าวมานี้คือ กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia syndrome) ซึ่งเป็นภาวะหรือกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่พบได้เสมอ ๆ มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียจะมีอาการปวดไปทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จะมีจุดปวดเป็นพิเศษบางตำแหน่งที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย จุดเหล่านี้จะไวต่อแรงกดมาก แค่เพียงลูบคลำก็ทำให้เกิดอาการปวด หรืออาการปวดจะเด่นชัดขึ้นทันที นอกจากอาการปวดแล้วผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังรู้สึกอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิทำงาน จิตใจหดหู่ไม่อยากทำอะไร แต่ก็มีหลักฐานชัดเจนจากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย ไม่ใช่โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติทางด้านจิตใจไม่ใช่โรคเครียดหรือโรคซึมเศร้า ปัจจุบันถึงแม้ยัง ไม่ทราบกลไกที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่เชื่อว่าความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดไปทั้งตัวจากการรับรู้ความเจ็บปวดของระบบประสาทมีการเปลี่ยนแปลงไป ในคน 100 คน จะพบคนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียประมาณ 2 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงในวัยทำงานถึงวัยเกษียณ ผู้ชายก็พบได้แต่น้อยกว่าผู้หญิงประมาณ 4-7 เท่าปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดโรคนี้อาจเป็นความกดดันหรือความเครียดที่เกิดจากการทำงานนอกบ้าน ร่วมกับภาระงานบ้านที่มาพร้อมกัน

ผู้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย จะมีอาการปวดที่กระจายทั่วไปเป็นนานกว่า 3 เดือน บางครั้งอาการปวดจะเป็นมากด้านซ้ายหรือด้านขวาของร่างกายมากกว่าอีกด้านหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับการรับรู้ความเจ็บปวดที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าคนทั่วไป บางคนบรรยายอาการปวดว่าเหมือนไฟเผาทั้งตัว หรือเหมือนของแหลมทิ่มแทงทั้งตัว จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่ามีผู้ป่วยถึงร้อยละ 15 ที่ไม่สามารถ กลับไปดำรงชีวิตในสังคมหรือทำงานได้ตามปกติ มี ผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 ที่อาการปวดเรื้อรังทำให้เกิดความซึมเศร้าทางอารมณ์ ทำให้เกิดความไขว้เขวว่า ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชนำไปสู่การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการ

รักษาที่ผิดวิธี

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในระบบประสาทของผู้ป่วย เช่น มีการเพิ่มขึ้นของระดับของสารที่เป็นสื่อ ของการถ่ายทอดการรับรู้ความเจ็บปวดที่เรียกว่า substance P (P คงมาจาก pain) ในสมอง บางส่วนและในน้ำไขสันหลัง มีการทำงานของสมองบางส่วนมากกว่าปกติก่อนที่จะเกิดอาการ ปวดขึ้น มีความผิดปกติในกลไกการควบคุมฮอร์ โมนบางอย่างหรือการไหลเวียนของโลหิตในสมองที่ลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ทำให้ในปัจจุบันเชื่อว่า การเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ในลักษณะที่ทำให้ ร่างกายรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ไวกว่าปกติจากจุดกระตุ้น และกลายเป็นความเจ็บปวดที่กระจายไปทั้งตัว ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดเฉพาะที่กล้ามเนื้อเท่านั้น ตามชื่อโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่ก็ยังไม่มีชื่อใดที่เหมาะสมที่จะใช้เรียกชื่อโรคนี้ได้เลยยังใช้ชื่อเดิมอยู่

อาการปวดไปทั้งตัวในผู้ที่เป็นโรคไฟโบร มัยอัลเจียเป็นอาการที่เกิดขึ้นในโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ถ้าเช่นนั้นจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไฟโบร มัยอัยเจีย การจะแน่ใจหรือให้การวินิจฉัยว่าเป็น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย อาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่มีอาการปวดกระจายไปทั่วตัว แต่อาจจะไม่เท่ากัน บางคนเป็นด้านซ้ายหรือด้านขวามากกว่า และ เป็นมานานมากกว่า 3 เดือน ร่วมกับการตรวจ ร่างกายที่อาศัยการที่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีจุดที่ไวต่อแรงกดเป็นพิเศษ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดด้วยแรงกดเบา ๆ ที่ปกติบริเวณอื่นหรือในคนทั่วไปจะเป็นแค่รู้สึกว่าถูกกดจุดต่าง ๆ เหล่านี้มีตำแหน่งกระจายอยู่ทั่วร่างกายมีประมาณ 18 จุด ซึ่งมักจะใช้รูปปั้นสมัยกรีกที่มีชื่อเสียงที่เรียก “รูปปั้นสามสาวพี่น้อง” (the three sister) เนื่องจากรูปปั้นนี้จะเผยให้เห็นสัดส่วนของร่างกายครบทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากการมองครั้งเดียว ในระนาบเดียว (ดังภาพ) ถ้าลองกดตามจุดต่าง ๆ นี้แล้วพบว่าจุดที่กดเบา ๆ แล้วกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ 11 จุดหรือมากกว่าจาก 18 จุดก็ถือว่าให้การวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้ ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ยากมากเพียงแต่ต้องทราบว่าจุดต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ตรงบริเวณไหนของร่างกายเท่านั้น แต่ก่อนจะถึงขั้นนี้ก็ต้องนึกถึงก่อนว่า อาการปวดทั้งตัวนี้อาจจะเกิดจากโรค ไฟโบรมัยอัลเจียได้ จึงจะมีการตรวจกดจุดเหล่านี้ดู ถ้าไม่นึกถึงก็คงไม่ลงมือกดจุดดูตัวอย่างของจุดเหล่านี้ เช่น จุดบริเวณท้ายทอย จุดบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอทั้งซ้าย ขวา จุดบริเวณมุมกระดูกสะบัก จุดบริเวณข้อศอก จุดบริเวณตะโพก จุดบริเวณด้านในของข้อเข่า เป็นต้น

กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียนี้นอกจาก จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไปแล้วในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค เอส แอล อี (SLE) หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ก็อาจมีกลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ เช่น จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ประมาณร้อยละ 30 มีกลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียร่วมด้วย นอกจากนี้ในภาวะที่มีความกดดันหรือภาวะเครียดเรื้อรัง เช่น ในภาวะสงคราม ก็มีอุบัติการณ์ของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเพิ่มขึ้น ทหารอเมริกันที่ไปรบในสงคราม ในประเทศอิรักแล้วมีอาการป่วยพบว่าป่วยเป็น กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียถึงร้อยละ 33

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ที่ใช้กันมากที่สุดอันดับแรกคือ ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ รองลงไปคือยาแก้ปวดพารา เซตามอล อันดับสามคือยาคลายเครียดและ ยานอนหลับ หรือใช้ยาทั้ง 3 ชนิดนี้ร่วมกัน ใน ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มอื่น ๆ อีกหลายกลุ่มมา ช่วยในการรักษาโรคนี้ให้ได้ผลมากขึ้นทั้งยาแก้ปวด กลุ่มอื่น ยากันชัก และฮอร์โมน ที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคนี้คือ การติดตามผู้ป่วยอย่างต่อ เนื่องเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และผู้ให้การรักษา ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้ใจและ มีความมั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการติดตามผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขหรือเป็นโอกาส ปรับเปลี่ยนการรักษาให้ได้ผลมาก ขึ้น เป็นโอกาสให้ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในกิจวัตรส่วนตัวและการดำเนินชีวิต ในสังคมด้วยวิธีการสร้างสรรค์ให้กำลังใจ เป็นการเสริมพฤติกรรมและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กิตติ โตเต็มโชคชัยการ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

เทคนิคการลากรถอย่างถูกวิธี

น้ำหอม-การบูร-พิมเสน ควรใช้ในรถมั๊ย ??


ถ้าชอบความหอม-สดชื่นก็ติดตั้งได้ แต่ควรมั่นทำความสอาดตู้แอร์ทุก 2-30,000 กม. และเปลี่ยนกรองแอร์อย่างสม่ำเสมอ 

การบูร-พิมเสน หากทิ้งแตกแดดไว้นานๆ เคมีอาจกลายสภาพเป็นสารที่สูดดมแล้ววิงเวียนศรีษะ หากชอบกลิ่นการบูร ควรมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ

หากไม่เคยล้างตู้แอร์ ไอระเหยของน้ำหอมจะวนอยู่ในตู้แอร์ นานๆจะจับตัวเป็นคราบเหนียว และเป็นแหล่งเพาะบ่มเชื้อโรค อีกทั้งทำให้แอร์ตัน Com Air ทำงานหนัก และเสียเร็วก่อนกำหนด

-ทางแก้กลิ่นภายในรถ

1.หากใช้รถเกิน 30,000 กิโล ควรล้างตู้แอร์ และเปลี่ยนกรองแอร์

2.หาถ่านใส่ถังอบไว้ในรถซัก 1 อาทิตย์ และ/หรือ เปิดประตูตากแดด

3.หลีกเลี่ยงทานอาหาร-สูบบุหรี่ หากจำเป็นควรเปิดกระจกระบาย

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

1. ชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีแต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
ประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว
ประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ประวัติโรคมะเร็งหลายชนิดร่วมกันในครอบครัว

( ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมเป็นรายๆไป)

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงทางประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 142,950 ราย ต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 52,857 รายในแต่ละปี

ส่วนในยุโรป จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุอันดับที่สองรองจากมะเร็งเต้านมในเพศหญิงและมะเร็งต่อมลูกหมากกับมะเร็งปอดในเพศชาย โดยมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ถึงปีละ 450,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากถึงปีละ 232,000 รายทั่วยุโรป สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยเอง แม้ว่าจะมีอุบัติการณ์ไม่สูงเท่ากับประเทศในยุโรปหรืออเมริกา แต่ก็พบประมาณการผู้ป่วยใหม่มากกว่า 65,000 รายต่อปี หรือประมาณ 25 รายในประชากร 100,000 ราย ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และยังเป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันต้นๆอีกด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งทุกชนิดนั้น หากมีการตรวจพบตั้งแต่ระยะต้นผลของการรักษาจึงจะดี ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีคำแนะนำให้มีการ “ตรวจคัดกรอง” (screening) เพื่อหาโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาหากตรวจพบโรค รวมถึงการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเพื่อการป้องกัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำแนะนำให้ประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการต่างๆและพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคนี้ได้อย่างชัดเจน

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าประมาณร้อยละ70 ของโรคมะเร็งลำไส้เกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก (polyp) ที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ดังนั้นการตรวจคัดกรองเพื่อหาติ่งเนื้อดังกล่าวและตัดออกไปก็สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคได้ การศึกษาของประเทศไทยเองพบว่าโอกาสตรวจพบติ่งเนื้อในประชากรที่มารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ30 โดยมากขึ้นตามอายุ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีรายงานไว้ได้แก่ ผู้มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว (โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง การรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ เป็นต้น 


http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่_1162/th
 — กับ Black Henและ Tschudin Koy

ผักผลไม้ค้างคืน มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นกว่าตอนสด ๆ ซะอีก

หากคราวหน้าคุณคิดจะปาสตรอเบอรีหรือองุ่นค้างคืนทิ้งละก็ 
อย่าเพิ่งนะครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียมเพิ่งรายงานมาว่า ผักและผลไม้เหล่านี้ยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่อีกหลายวันหลังจากที่เราซื้อมา บางชนิดแม้เราจะเห็นว่าใกล้เสียแล้วก็ยังมีคุณค่าอยู่แถมบางชนิดยิ่งเก่าเท่าไรยิ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระมากเท่านั้นครับ

อายุของผักและผลไม้นั้นเราอาจสังเกตได้จากรูปร่างลักษณะภายนอก

แต่ผักผลไม้อายุมาก ที่เราพยายามจะเขวี้ยงทิ้งกลับมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ คำว่ามีประโยชน์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ามีรสชาติอร่อย หรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูงนะครับแต่หมายความว่า มันมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิจัยกล่าวว่ายังไม่มีการศึกษาใดที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเก็บต่อระดับสารต้านอนุมูลอิสร

Claire Kevers และคณะได้สรรหาผักผลไม้หลายชนิดจากตลาดเบลเยียมมาทดสอบระดับสารต้านอนุมูลอิสระในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปหลังจากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิ 37 องศาฟาเรนไฮต์ในตู้เย็น

จนกระทั่งผักผลไม้นั้นๆ จะเริ่มเน่า ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าหลังจากทิ้งผักผลไม้ที่ซื้อจากตลาดไว้หลายวัน ผักผลไม้เหล่านั้นยังคงมีสารประกอบจำพวกฟีนอล กรดแอสคอร์บิกและเฟลโวนอล สารเคมีทั้งสามที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับระดับสารต้านอนุมูลอิสระ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ซื้อมานั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของสารประกอบเหล่านี้ครับ

สรุปว่าผักและผลไม้ที่ค้างคืน แม้จะดูไม่น่าทาน แต่ก็มีประโยชน์อยู่นะครับ ไม่จำเป็นต้องรีบทิ้ง 


http://www.panclinic.com/