วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย เคยได้ยินหรือเปล่า ?

ท่านเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อไปทั้งตัว กดโดนตรงไหนก็เจ็บ ไม่มีแรง ปวดบริเวณต้นคอ สะบักหลัง รู้สึกตึงไปหมด เหนื่อยง่าย เป็นทุก ๆ วัน เป็นหลายเดือนหรือ ถึงเป็นปี อาการที่กล่าวมาแล้วฟังดูเหมือนเป็นอาการสามัญที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อย กลุ่มอาการที่กล่าวมานี้คือ กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia syndrome) ซึ่งเป็นภาวะหรือกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่พบได้เสมอ ๆ มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียจะมีอาการปวดไปทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จะมีจุดปวดเป็นพิเศษบางตำแหน่งที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย จุดเหล่านี้จะไวต่อแรงกดมาก แค่เพียงลูบคลำก็ทำให้เกิดอาการปวด หรืออาการปวดจะเด่นชัดขึ้นทันที นอกจากอาการปวดแล้วผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังรู้สึกอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิทำงาน จิตใจหดหู่ไม่อยากทำอะไร แต่ก็มีหลักฐานชัดเจนจากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย ไม่ใช่โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติทางด้านจิตใจไม่ใช่โรคเครียดหรือโรคซึมเศร้า ปัจจุบันถึงแม้ยัง ไม่ทราบกลไกที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่เชื่อว่าความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดไปทั้งตัวจากการรับรู้ความเจ็บปวดของระบบประสาทมีการเปลี่ยนแปลงไป ในคน 100 คน จะพบคนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียประมาณ 2 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงในวัยทำงานถึงวัยเกษียณ ผู้ชายก็พบได้แต่น้อยกว่าผู้หญิงประมาณ 4-7 เท่าปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดโรคนี้อาจเป็นความกดดันหรือความเครียดที่เกิดจากการทำงานนอกบ้าน ร่วมกับภาระงานบ้านที่มาพร้อมกัน

ผู้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย จะมีอาการปวดที่กระจายทั่วไปเป็นนานกว่า 3 เดือน บางครั้งอาการปวดจะเป็นมากด้านซ้ายหรือด้านขวาของร่างกายมากกว่าอีกด้านหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับการรับรู้ความเจ็บปวดที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าคนทั่วไป บางคนบรรยายอาการปวดว่าเหมือนไฟเผาทั้งตัว หรือเหมือนของแหลมทิ่มแทงทั้งตัว จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่ามีผู้ป่วยถึงร้อยละ 15 ที่ไม่สามารถ กลับไปดำรงชีวิตในสังคมหรือทำงานได้ตามปกติ มี ผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 ที่อาการปวดเรื้อรังทำให้เกิดความซึมเศร้าทางอารมณ์ ทำให้เกิดความไขว้เขวว่า ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชนำไปสู่การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการ

รักษาที่ผิดวิธี

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในระบบประสาทของผู้ป่วย เช่น มีการเพิ่มขึ้นของระดับของสารที่เป็นสื่อ ของการถ่ายทอดการรับรู้ความเจ็บปวดที่เรียกว่า substance P (P คงมาจาก pain) ในสมอง บางส่วนและในน้ำไขสันหลัง มีการทำงานของสมองบางส่วนมากกว่าปกติก่อนที่จะเกิดอาการ ปวดขึ้น มีความผิดปกติในกลไกการควบคุมฮอร์ โมนบางอย่างหรือการไหลเวียนของโลหิตในสมองที่ลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ทำให้ในปัจจุบันเชื่อว่า การเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ในลักษณะที่ทำให้ ร่างกายรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ไวกว่าปกติจากจุดกระตุ้น และกลายเป็นความเจ็บปวดที่กระจายไปทั้งตัว ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดเฉพาะที่กล้ามเนื้อเท่านั้น ตามชื่อโรคไฟโบรมัยอัลเจีย แต่ก็ยังไม่มีชื่อใดที่เหมาะสมที่จะใช้เรียกชื่อโรคนี้ได้เลยยังใช้ชื่อเดิมอยู่

อาการปวดไปทั้งตัวในผู้ที่เป็นโรคไฟโบร มัยอัลเจียเป็นอาการที่เกิดขึ้นในโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ถ้าเช่นนั้นจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไฟโบร มัยอัยเจีย การจะแน่ใจหรือให้การวินิจฉัยว่าเป็น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย อาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่มีอาการปวดกระจายไปทั่วตัว แต่อาจจะไม่เท่ากัน บางคนเป็นด้านซ้ายหรือด้านขวามากกว่า และ เป็นมานานมากกว่า 3 เดือน ร่วมกับการตรวจ ร่างกายที่อาศัยการที่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีจุดที่ไวต่อแรงกดเป็นพิเศษ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดด้วยแรงกดเบา ๆ ที่ปกติบริเวณอื่นหรือในคนทั่วไปจะเป็นแค่รู้สึกว่าถูกกดจุดต่าง ๆ เหล่านี้มีตำแหน่งกระจายอยู่ทั่วร่างกายมีประมาณ 18 จุด ซึ่งมักจะใช้รูปปั้นสมัยกรีกที่มีชื่อเสียงที่เรียก “รูปปั้นสามสาวพี่น้อง” (the three sister) เนื่องจากรูปปั้นนี้จะเผยให้เห็นสัดส่วนของร่างกายครบทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากการมองครั้งเดียว ในระนาบเดียว (ดังภาพ) ถ้าลองกดตามจุดต่าง ๆ นี้แล้วพบว่าจุดที่กดเบา ๆ แล้วกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ 11 จุดหรือมากกว่าจาก 18 จุดก็ถือว่าให้การวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้ ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ยากมากเพียงแต่ต้องทราบว่าจุดต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ตรงบริเวณไหนของร่างกายเท่านั้น แต่ก่อนจะถึงขั้นนี้ก็ต้องนึกถึงก่อนว่า อาการปวดทั้งตัวนี้อาจจะเกิดจากโรค ไฟโบรมัยอัลเจียได้ จึงจะมีการตรวจกดจุดเหล่านี้ดู ถ้าไม่นึกถึงก็คงไม่ลงมือกดจุดดูตัวอย่างของจุดเหล่านี้ เช่น จุดบริเวณท้ายทอย จุดบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอทั้งซ้าย ขวา จุดบริเวณมุมกระดูกสะบัก จุดบริเวณข้อศอก จุดบริเวณตะโพก จุดบริเวณด้านในของข้อเข่า เป็นต้น

กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียนี้นอกจาก จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไปแล้วในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค เอส แอล อี (SLE) หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ก็อาจมีกลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ เช่น จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ประมาณร้อยละ 30 มีกลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียร่วมด้วย นอกจากนี้ในภาวะที่มีความกดดันหรือภาวะเครียดเรื้อรัง เช่น ในภาวะสงคราม ก็มีอุบัติการณ์ของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเพิ่มขึ้น ทหารอเมริกันที่ไปรบในสงคราม ในประเทศอิรักแล้วมีอาการป่วยพบว่าป่วยเป็น กลุ่มอาการไฟโบรมัยอัลเจียถึงร้อยละ 33

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ที่ใช้กันมากที่สุดอันดับแรกคือ ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ รองลงไปคือยาแก้ปวดพารา เซตามอล อันดับสามคือยาคลายเครียดและ ยานอนหลับ หรือใช้ยาทั้ง 3 ชนิดนี้ร่วมกัน ใน ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มอื่น ๆ อีกหลายกลุ่มมา ช่วยในการรักษาโรคนี้ให้ได้ผลมากขึ้นทั้งยาแก้ปวด กลุ่มอื่น ยากันชัก และฮอร์โมน ที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคนี้คือ การติดตามผู้ป่วยอย่างต่อ เนื่องเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และผู้ให้การรักษา ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้ใจและ มีความมั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการติดตามผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขหรือเป็นโอกาส ปรับเปลี่ยนการรักษาให้ได้ผลมาก ขึ้น เป็นโอกาสให้ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในกิจวัตรส่วนตัวและการดำเนินชีวิต ในสังคมด้วยวิธีการสร้างสรรค์ให้กำลังใจ เป็นการเสริมพฤติกรรมและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กิตติ โตเต็มโชคชัยการ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น