วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคแพนิค (Panic Disorder) (infomental)

มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมักมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า อะดรีนาลิน (Adrenalin) ซึ่งผลิตจากต่อมหมวกไตสูง แต่มีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นผลผลิตจากสมองต่ำ ซึ่งกรรมพันธุ์ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคนี้ได้

@ โรคแพนิค เป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมาก และเกินมานานแล้ว แต่คนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆ แล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจ และ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน หรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย

@ ส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคแพนิค จะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือเป็นบ้า เพราะอาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นทันทีและค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาทีอยู่ระยะหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ทุเลาลง อาการจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากหายผู้ป่วยมักจะเพลีย

@ อาการ โรคแพนิค จะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้ แต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุ และเชื่อมโยงหาเหตุ เพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยง เช่น บางรายไปเกิดอาการขณะขับรถก็จะไม่กล้าขับรถ บางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้าขึ้นสะพานลอย ผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวถ้าเกิดอาการขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วย ในบางรายอาจเกิดจากกระตุ้นเวลาออกกำลังหนัก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้จึงควรหลีกเลี่ยง

@ ขณะเกิดอาการ ผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ให้เข้าห้องฉุกเฉิน จะได้รับการสรุปอาการว่า "เครียดหรือคิดมาก" ซึ่งผู้ป่วยจะยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการครั้งต่อมา ผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและก็จะได้คำตอบแบบเดียวกัน ...ผู้ป่วย หลายรายไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็ได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด และไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการได้ดีกว่านี้

@ โรค "ตื่นตระหนก" จะสังเกตุได้ว่าอาการต่าง ๆ จะคล้ายกับอาการของคนที่กำลังตื่นตระหนก ใน โรคแพนิค ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุกระตุ้น และคาดเดาไม่ถูก

@ อาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้น สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานาน บางคนเป็นมาหลายปี เกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้ง แต่ก็ไม่เป็นอะไรมากกว่าวงจรที่เป็น

การใช้รักษา โรคแพนิค จะมี 2 กลุ่ม
1) ยาป้องกัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้

@ เพราะในช่วงแรก ๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ จึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน แล้วค่อยๆ หยุดยา แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีนี้ให้ยาใหม่แล้วค่อยๆ ลดยาลงช้าๆ

2) ส่วนยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา ทานแล้วหายเร็ว ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง ไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป จะเกิดการติดยาและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการ"แพนิค ทำให้แยกไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้น ให้ทานเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น เริ่มมีอาการแล้วค่อยทานก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว

การดูแลโรคแพนิคด้วยตนเอง
1) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คนไข้อาจไม่กล้าทำ เพราะคิดว่าจะยิ่งทำให้ใจสั่นเวลาเหนื่อย แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกลับทำให้ระบบหัวใจ และปอดทำงานสมดุลขึ้น
2) พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ หากอดนอนโรคจะกำเริบได้ง่าย
3) งดใช้คาเฟอีน (ชา กาแฟ ชาเขียว เครื่องดื่มชุกำลัง) สุรา และสารเสพติด เพราะอาจมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดแพนิค
4) การผึกการผ่อนคลายด้วยวิธีเหล่านี้ โดยต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาอย่างน้อยครั้งละ 15-20 นาที - การฝึกหายใจเข้าออกช้าๆ - การฝึกสมาธิ หรือเดินจงกรม - การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้ฟังเพลงช่วย - การผึกโยคะ ไทเก็ก หรือการออกกำลังที่ประสานร่างกายและจิตใจ - การได้ปรึกษาหรือระบายปัญหากับผู้ที่ตนไว้ใจหรือศรัทธา หรือใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต - การจัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่นศึกษาธรรมะ หรือทำงานอดิเรกที่ผ่อนคลาย - ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมีอาการเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา - เวลามีอาการอย่าตกใจ อย่าคิดต่อเนื่องไปว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายตาย เพราะจะยิ่งทำให้เครียดและ ยิ่งเป็นมากขึ้น ให้นั่งพักและรออาการสงบไป ซึ่งจะหายไปเองเหมือนครั้งก่อนๆที่เคยเป็น หรือรับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้ แล้วพักสักครู่รอยาออกฤทธิ์ ขอให้มั่นใจว่าไม่เคยมีใครตายจากโรคแพนิค เพราะจะทำให้คิดมากจนไม่มีความสุข - ไม่หายแล้วเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

@ ยาสมุนไพร : ใช้ยาหอมบำรุงหัวใจ / ยาชนะโรค 108 บำรุงหัวใจ แก้จิตประสาท / น้ำมันสกัดเย็นรวม แก้เครียด บำรุงสมอง ทำให้อารมณ์ดี / อาหารประเภทบำรุงสมอง เช่น กลุ่มปลาทะเล-น้ำจืด - ใบบัวบก - ใบแปะก้วย - กล้วย ฯลฯ 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น