วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ให้ลูกกินยาแก้แพ้ไปนานๆ จะมีอันตรายไหม

คุณแม่น้องเคน ไปหมอมาละ ด้วยอาการที่น้องเคนตื่นตอนเช้าๆและหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ จะมีอาการน้ำมูกไหลและจาม แต่พอไปโรงเรียนก้อปกติดีนี่นา คุณหมอใจดีได้ตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคภูมิแพ้อากาศน่านเอง จึงให้ยาแก้ภูมิแพ้มากิน ก้ออาการดีขึ้น แต่กังวลอยู่ข้อเดียว ให้ลูกเคนกินยาแก้แพ้ไปนานๆ กินต่อไปเรื่อยๆ จะมีผลดีต่อลูกหรือไม่ อย่างไรคะ?

จะสังเกตได้อย่างไรว่าล
ูกเป็นโรคภูมิแพ้

คุณแม่หลายคนเช่นเดียวกับคุณแม่น้องเคน คงเคยได้ยินว่าเด็กสมัยนี้เป็นโรคภูมิแพ้กันเย้อะมาก และ เอ๊ะ!! เริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่าลูกของเราจะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยหรือไม่? คงต้องเริ่มจากมาทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้ในเด็กกันก่อนนะครับ เริ่มตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน เด็กอาจจะเริ่มต้นแสดงอาการแพ้นมวัว เมื่อเริ่มกินอาจเกิดมีอาการปากบวม หรือมีผื่นแบบรุนแรง มีอาการหอบเหนื่อย หรืออาเจียน ท้องเสีย แสดงว่าลูกเรากำลังแพ้นมวัวครับ

หรืออาการทางผิวหนังที่จะเกิดเป็นผื่นแดงคัน ขึ้นบนแก้ม ลำคอ แขน ขา เหมือนๆกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กอายุ 3-4 เดือน เวลาที่ผื่นลุกลามรุนแรงขึ้น จะมีสีแดงจัดและมีน้ำเหลืองเยิ้ม เป็นอาการชัดที่บอกว่าลูกรักของเรากำลังเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังเมื่อเกิดการสัมผัสครับ 

สุดท้ายอาการโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจอย่างน้องเคนนี่หล่ะครับ หรือบางทีเราก้อเรียกกันว่าโรคแพ้อากาศ โดยเด็กๆ จะมีอาการเหมือนเป็นหวัด แต่จะเป็นบ่อยมากเกือบทุกเดือน หรือมีอาการนานเกินกว่า 10 วัน อาการที่เด่นชัดเช่นอาการคันจมูก ชอบขยี้จมูก จามหลายครั้งติดกันตอนเช้า หรืออาจมีอาการคันตา ชอบขยี้ตาร่วมด้วย คุณแม่ต้องหมั่นใส่ใจในการสังเกตุนะครับ เพราะถ้าเราไม่ทราบน้องน้อยแพ้อากาศ 
เป็นระยะเวลานานๆ จะกระตุ้นให้ต่อมทอนซิลและดีนอยด์ในช่องคอโตเกิดการหายในลำบาก หายใจมีเสียงดัง นอนกรน นอนหลับไม่สนิท หยุดหายใจ เกิดผลกระทบต่อหัวใจและปอดในระยะยาว บางรายมีไซนัสอักเสบเรื้อรังตามมาก้อมี ที่น่าห่วงสุดๆก้อคืออาจจะมีอาการของโรคหอบหืด จะมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด มีรอยบุ๋มตรงคอหรือชายโครงเวลาที่หายใจ 

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตุว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ให้ดูจากอาการทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว ถ้าเกิดบ่อยๆ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไปครับ

โรคภูมิแพ้ของลูกรักษาอย่างๆไร?

เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรกๆเลยคือ ต้องสังเกตว่าสิ่งใดที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงเมื่อต้องเจอตัวการที่ทำให้แพ้ แค่นี้เองครับ คุณแม่หลายคนมักจะเริ่มต้นโดยการไปซื้อยากินเองหรือเปลี่ยนหมอเปลี่ยนยาไปเรื่อยๆ แล้วก้อมาบ่นว่าไม่หายเสียที ร่างกายของน้องน้อยก้อต้องเหนื่อยเวลามีอาการแพ้ แล้วก้อต้องมากินยาในกลุ่มเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา โดยไม่เริ่มต้นที่จุดที่ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดเสียก่อน การรักษาโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือต้องพยายามหาสาเหตุและหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นครับ

ตามมาหลังจากรู้สาเหตุแล้วก้อคือการบำบัดตามอาการที่เกิดให้ลดลงครับ โดยการเลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง หมั่นให้ลูกออกกำลังกาย อย่าไปติดเล่นเกมส์มากนัก เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยา

ยาแก้โรคภูมิแพ้ ใช้อย่างไร จึงจะได้ผลและปลอดภัยกับลูกรัก

อาการที่คุณแม่น้องเคนเล่ามา คล้ายกับอาการของโรคภูมิแพ้ที่ทำให้อาการจามในตอนเช้า หรือเวลาอากาศเปลี่ยนหนาวเย็นหรือครึ้มฟ้าครึ้มฝน หรืออาจจะหายใจเสียงดังในจมูกหรือลำคอ บางรายก็มีน้ำมูกไหลหรือไอร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากในแต่ละวันที่ต้องพบอากาศที่แปรเปลี่ยน โดยส่วนใหญ่แพทย์และเภสัชกรจะแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยตัวคุณพ่อคุณแม่เองในกรณีที่มีการแพ้แบบไม่รุนแรง

ยาแก้แพ้เป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราการใช้สูงมาก แม้ยาในกลุ่มนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่เภสัชกรมีคำแนะนำ ที่คุณแม่ต้องรู้เพื่อให้ใช้ยาได้ผลและปลอดภัย 

1. รู้จักยาแก้แพ้แล้วหรือยัง ที่ให้ลูกกินอยู่ทุกวันนั่นแหละ 

ยาแก้แพ้ ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่ ชนิดที่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม) และชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่รุนแรง โดยที่โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดอาการได้ในหลายที่ อาทิ โพรงจมูก ตา หรือผิวหนัง ซึ่งจะมีอาการ เช่น แพ้อากาศ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แพ้เกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ เชื้อรา ลมพิษ เคืองตา เป็นต้น

2. หลักการใช้ยาแก้โรคภูมิแพ้

•สังเกตุเด็กว่าแพ้อะไร และต้องใช้ยาก่อนสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้แพ้ และใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ต้องพบกับสารที่ก่อภูมิแพ้ เหตุผลก้อ เพราะว่ายาแก้แพ้จะใช้ได้ผลดีกับการป้องกันมากกว่าการระงับอาการแพ้ที่มีอาการไปแล้วครับ
•ถามเภสัชกรเลยว่า ขนาดยาที่เหมาะกับอาการของลูกเราควรเป็นเท่าใด อย่าได้เกรงใจเภสัชกรแล้วไปแอบอ่านเอาเอง ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำก่อน แล้วค่อยปรับขนาดขึ้น จนได้ผลที่น่าพอใจ แต่ต้องระวัง เรื่องผลข้างเคียงด้วย
•หากยาตัวเดิม ใช้ไประยะหนึ่งแล้ว ร่างกายเกิดอาการชินต่อยาแก้แพ้ตัวนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ เปลี่ยนชนิดของยาแก้แพ้ชนิดเดิมไปเป็นชนิดใหม่ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน ส่วนใหญ่จะทำให้กลับมาใช้ยาชนิดเดิมได้อีก
•ในเด็กทารกบางคนอาจมีความไวต่อการตอบสนองต่อยานี้มาก อาจเกิดผลกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย ร้องโยเย หรือรุนแรงถึงขั้นชักได้ ควรเพิ่มความระวังในการใช้เป็นพิเศษ

3.รู้จักข้อควรระวังของยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้มีหลายกลุ่ม เราสามารถเลือกใช้ได้ตามประสิทธิภาพการบำบัดอาการ แต่ก้อต้องใส่ใจเรื่อง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แยกได้ตามกลุ่มของยาแก้แพ้ครับ

3.1 ยาแก้แพ้รุ่นเดิม มักมีผลข้างเคียงทำให้เด็กๆ เกิดอาการปากแห้ง จมูกแห้งมากเกินไป ปัสสาวะลำบาก ที่สำคัญมักทำให้ง่วงนอนมากขึ้น เด็กๆอาจจะซึมลงก้อได้ ถ้าอยู่ในบ้านก้อควรระวัง ถ้าไปโรงเรียนหากให้ยาต่อเนื่องก้อควรบอกคุณครูผู้ดูแลให้ทราบด้วย เพราะอาจทำให้เด็กง่วงจนเรียนไม่รู้เรื่อง หรือระหว่างเล่นกันอาจเกิดอุบัติเหตุจากอาการง่วงซึมได

แต่ฤทธิ์ที่ทำให้ง่วงนี้ ก้อมีประโยชน์นะครับ จะช่วยให้เด็กเล็กๆลดอาการงอแง ช่วยให้ลูกรักนอนหลับพักผ่อนได้มากขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันระหว่างหลับสนิทช่วยให้ร่างกายฟื้นจากอาการโรคภูมิแพ้ หรือระหว่างเป็นโรคหวัดได้เร็วกว่าเดิม

3.2 ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจนกว่าจะได้ผล แต่เมื่อออกฤทธิ์จะอยู่ได้นานครับ ดังนั้นคุณแม่ต้องใจเย็นๆ เพราะอาจต้องกินยานี้ต่อเนื่องหลายวันจึงจะเห็นผล อีกทั้งยาแก้แพ้รุ่นใหม่จะลดน้ำมูก และอาการคัดจมูกได้ไม่ดีเท่ายาแก้แพ้รุ่นเดิมครับ

ลูกเป็นโรคภูมิแพ้หากต้องใช้ยารักษาอาการแพ้ติดต่อกันนานๆ จะอันตรายไหม?

มาสรุปส่งท้ายของคำถามยอดนิยมแล้ว การใช้ยาแก้แพ้เป็นประจำติดต่อกันนาน ๆ เช่น กรณีการป้องกันการแพ้ฝุ่นละอองในอากาศ โดยทั่วไปไม่มีผลเสียร้ายแรงแต่อย่างใด ให้ปรึกษาเภสัชกรถึงการเลือกยา ความสะดวกในการใช้ ควรเลือกยาที่มีผลข้างเคียงน้อยๆ แค่นี้เองครับ น้องเคนของคุณแม่ก้อจะแข็งแรงได้เร็วไว เป็นขวัญใจของคุณพ่อคุณแม่ได้สบายใจตลอดไป ไม่ต้องกังวลว่าโรคภูมิแพ้จะมารังแก



เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น